The Future of Internet

ประเด็นการผูกขาดในกรณี AT&T ซื้อ T-Mobile

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 5 พฤษภาคม 2011

เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ของข่าว AT&T ซื้อ T-Mobile ที่ยังไม่น่าจะจบง่ายๆ

สิ่งที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ AT&T กับ T-Mobile ก็ถือครองคลื่นสำหรับให้บริการมือถืออยู่จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว แต่คลื่นเหล่านี้ไม่ค่อยพอใช้สำหรับเครือข่ายที่ขยายตัวเร็วมาก โดยเฉพาะ 4G/LTE

ปี 2008 อเมริกาก็เพิ่งประมูลคลื่น 700Mhz ไปอีกชุดหนึ่ง (คลื่นชุดนี้มาจากการเปลี่ยนทีวีจาก analog > digital ทำให้มีคลื่นว่างเพิ่มอีกช่วงหนึ่ง) คลื่นชุดนี้แบ่งเป็นหลายบล็อค คนประมูลได้ก็มีหลายบริษัท (ทั้ง AT&T และ Verizon) ซึ่งในนี้มี Qualcomm ผู้ผลิตชิปไร้สายรวมอยู่ด้วย

ประเด็นอยู่ที่ว่า Qualcomm ประกาศจะแบ่งไลเซนส์คลื่นที่ประมูลได้ให้กับ T-Mobile (อเมริกาอนุญาตให้ขายหรือเช่าช่วงคลื่นได้ ของไทยยังไม่อนุญาตตาม พรบ  กสทช ปัจจุบัน) อันนี้เจรจากันเรียบร้อยแล้ว คำถามที่ตามมาคือ ถ้า AT&T ซื้อ T-Mobile ได้ จะได้คลื่นชุดนี้ของ Qualcomm ไปด้วยหรือไม่?

AT&T อยากได้คลื่นชุดนี้เอาไปทำ LTE อยู่แล้ว แต่ก็มีกลุ่ม media reform หลายกลุ่มคัดค้านเพราะจะยิ่งทำให้ AT&T ผูกขาดคลื่นเข้าไปอีก

อันนี้เป็นหนึ่งในประเด็นที่ FCC (กทช สหรัฐ) ต้องพิจารณา สำหรับอนุมัติให้ AT&T ซื้อ T-Mobile ได้

จาก Ars Technica

ปัญหาใหม่ของ Regulator: กำกับดูแล Internet ผ่านสายไฟฟ้า

Posted in Regulation by markpeak on 6 เมษายน 2011

เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของอังกฤษ คือเริ่มมีอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า (powerline) ของบริษัท Powerline Telecommunications (PLT) แต่ก็มีปัญหาว่าการส่งสัญญาณผ่านสายไม่มีฉนวนทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน (คนที่โดนกวนคือพวกวิทยุสมัครเล่น และการบิน)

ปัญหาเด้งที่สองคือ Ofcom หรือ กทช. อังกฤษ บอกว่าฉันไม่มีอำนาจดูแล ก็ต้องดูกันต่อว่าเป็นอำนาจของใครกันแน่

กสทช. บ้านเราก็น่าจะเจอปัญหานี้เหมือนกัน

Ofcom refuses to interfere on powerline networking interference

FCC’s Net Neutrality Rule

Posted in Regulation by markpeak on 23 ธันวาคม 2010

ช่วงนี้มีเรื่องอื่นๆ ต้องสนใจเยอะมาก เลยไม่ได้ติดตามประเด็นเรื่องกฎของ Net Neutrality ที่ FCC เพิ่งประกาศออกมา เพิ่งได้อ่านตะกี้

กฎนี้มันดีครึ่งไม่ดีครึ่ง คือ ห้ามบล็อคทราฟฟิก แต่อนุญาตให้คิดราคาการใช้งานทราฟฟิกที่แตกต่างกันได้ (ต่างจากก่อนหน้านี้ที่ยังไม่มีกฎใดๆ) เลยกลายเป็นการอนุญาตให้การคิดเงินตามแอพพลิเคชัน-ชนิดของทราฟฟิกกลายเป้นเรื่องถูกกฎหมายไปแทน

แปะลิงก์

หมายเหตุ: บริบทของอุตสาหกรรม telco ในอเมริกาต่างจากของไทยอยู่พอสมควร เงื่อนไขอาจนำมาใช้แบบเดียวกันไม่ได้

Tagged with: , ,

The Future of Tech Regulation

Posted in Regulation by markpeak on 7 กันยายน 2010

Tech revolution spurs debate over antitrust law – บทความจาก San Francisco Chronicle

ประเด็นเรื่องการกำกับดูแล (regulation) กำลังถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกไอที โดยเฉพาะประเด็นเรื่องผูกขาด (antitrust) ซึ่ีงเป็นแขนงหนึ่งของ regulation (แต่เป็นแขนงสำคัญ)

SFGate ตั้งคำถามว่า “Is antitrust outdated for the Information Age?”

เหตุหนึ่งก็เพราะว่าแนวทางในการ “วัด” การผูกขาดหรือการมีอำนาจเหนือตลาด (ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพิจารณาว่า รัฐควรเข้ามายุ่งหรือไม่) เริ่มจะใช้ไม่ได้แล้ว เพราะตลาดมัน convergence กันมั่วไปหมด


The traditional metrics for evaluating anti-competitive behavior focus on market power and the ability to substantially raise prices, factors that also get fuzzy with these tech platforms.

When a company is selling toasters to customers, it’s easy to measure their market share and evaluate their pricing. But toasters only compete against toasters (and maybe the occasional toaster oven). Operating systems, search engines and social networks, even dominant ones, sometimes face competition from other platforms.

ประเด็นเรื่องการวัดส่วนแบ่งตลาด

Hal Varian, chief economist at Google, highlighted the difficulty in measuring these things at the Aspen conference.

For instance, while studies put Google’s share of the online search market at anywhere from 66 percent to 81 percent, he said the company only has “maybe 2 percent” of the global advertising market. So which do you measure?

ตลาดเปลี่ยนเร็วมาก จนรัฐอาจตามเทคโนโลยีไม่ทัน

“The markets are changing rapidly,” said Albert Foer, president of the American Antitrust Institute in Washington, D.C., which has called on regulators to keep an especially close eye on emerging technologies like mobile advertising networks. “You certainly have to watch these guys like a hawk, figure out where they’re going and figure out what each move means strategically and whether it will be (anti-competitive) in the future.”

นอกจากนี้ยังมีประเด็นการใช้สองตลาด (หรือมากกว่านั้น) ควบคู่กัน เพื่อสร้างอำนาจผูกขาดระหว่างกันขึ้น ทำให้ยิ่งกำกับดูแลยากเข้าไปอีก

The literature can quickly make a layman’s eyes go cross, brimming with words only an economist could love like “multi-sided platforms,” “vertical restraints” and “indirect network effects.”

But here’s the gist: Companies like Microsoft Corp., Google or Facebook Inc. built platforms with several sets of constituents: the users of the operating system, search engine or social network on one side, and advertisers, application developers or various other partners on the other.

There’s often a virtuous cycle that kicks in, where more users draw more developers, advertisers and partners, who in turn draw more users, and so on. In the cases of these three platforms, this so-called network effect rapidly created dominant companies in their respective fields – in fact, arguably increasingly quickly with each successive company

ผลของการเข้ามากำกับดูแล อาจจะไม่ช่วยให้บริษัทเล็กอยู่ได้อยู่ดี (กรณี Netscape)

The academic experts reached for this story believe that the company was clearly abusing its market power in operating systems to squash a more innovative rival in the Internet browser space, namely Netscape. But here’s the thing: The government won the case, but who uses Netscape today? Its market share dropped from around 80 percent to less than half of 1 percent.

ในบทความยังพูดถึงหนังสือ The Keystone Advantage ถ้ามีโอกาสคงได้หามาอ่าน

A 2004 book, “The Keystone Advantage,” articulated a largely free-market take on how these platforms, or ecosystems, should be viewed by antitrust authorities. It argued that the interdependence of all these parties is self-regulating, at least when led by a type of company it dubbed a keystone. The book cited Microsoft as an example.

Rather than pursuing a “dominator strategy,” the Redmond, Wash., software giant sought to partner with vast numbers of developers and partners, recognizing that their success was intricately tied to its own.

“Keystone strategies should most often not be … a red flag for policy makers,” wrote the authors, Harvard Business School Professor Marco Iansiti and former Microsoft program manager Roy Levien. “Indeed, we believe that public policy could be designed to reinforce keystone-like behavior and avoid harming critical network hubs, considering that the associated damage could paralyze vast numbers of ecosystem participants.”

Tagged with: ,

UK 3G Coverage Map

Posted in infrastructure by markpeak on 4 พฤศจิกายน 2009

แผนผังแสดง coverage area ของ 3G network ในอังกฤษ ประกาศโดย Ofcom (กทช. อังกฤษ)

ผู้บริโภคสามารถดูได้เลยว่า มือถือของตัวเองมันมี coverage สมราคาคุยแค่ไหน

จะเห็นว่ายักษ์ใหญ่ของวงการมือถือ ทั้ง Vodafone/O2/T-Mobile มี 3G coverage ไม่ดีนัก เพราะเป็นเครือข่าย 2G มาก่อน ส่วน 3 นั้นเป็น 3G ตั้งแต่แรก (สังเกตจากชื่อบริการได้) Orange นี่ไม่มีข้อมูลครับ (ป.ล. Orange กับ T-Mobile ในอังกฤษจะรวมตัวกันเร็วๆ นี้)

จาก CNET

Tagged with: , , , , , ,

FCC and Internet Neutrality

Posted in Regulation by markpeak on 26 สิงหาคม 2009

FCC ของสหรัฐ โดยJulius Genachowski  ออกมายืนยันแล้วว่าจะสนับสนุนนโยบาย net neutrality และจะดำเนินการกับผู้ที่ฝ่าฝืนแนวทางนี้

“FCC will support net neutrality and will enforce any violation of net neutrality principles,”

คู่กรณีของ FCC คือ Comcast บริษัทเคเบิลในสหรัฐที่ถูกตัดสินให้ผิด กรณีบีบแบนด์วิธของผู้ใช้ BitTorrent ซึ่งขณะนี้ Comcast ได้อุทธรณ์ต่อศาลแล้ว

ที่มา – The Hill

[Privacy] Affect from Online Privacy Bill

Posted in privacy, Regulation by markpeak on 13 กรกฎาคม 2009

อีกไม่นานนี้เราจะได้เห็นการพูดเรื่อง online privacy เพิ่มขึ้นอีกมาก (ตอนนี้ก็มากอยู่แล้วแต่ยังไม่พอ) และที่จะเห็นตามมาคือความพยายาม regulate ด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว

ในสหรัฐก็เพิ่งเริ่มพูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน ไอเดียหนึ่งของ Online Privacy Bill คือ บังคับให้ 3rd party cookie เลิกเก็บข้อมูลส่วนตัว (เช่น Google Analytics ที่ฝังอยู่ตามเว็บอื่นๆ ก็จะเก็บว่าผู้ใช้กดลิงก์อะไรบ้างไม่ได้แล้ว) แต่ยังยอมให้ 1st party cookie ทำได้อยู่ (เช่น Amazon เก็บว่าเราค้นหนังสืออะไร แล้วไปเลือกหนังสือที่เราน่าจะสนใจมาแสดงใน Recommendation)

ถ้ากฎนี้ออกมาจริง จะทำให้ “ภูมิทัศน์” ของ Online Ad เปลี่ยนไป ระบบที่ต้องพึ่ง cookie จะอยู่ยาก ส่วนระบบที่ไม่ต้องพึ่ง cookie อย่าง AdWords จะไม่โดนกระทบ และน่าจะกลายเป็นเจ้าตลาดโดยสมบูรณ์

ที่มา – BusinessWeek

Tagged with: , , ,