The Future of Internet

รัฐสภาสหรัฐเข้ามาสนใจกรณี กทช. สหรัฐลาออกไปอยู่บริษัทโทรคมฯ

Posted in Regulation by markpeak on 21 พฤษภาคม 2011

เป็นข่าว followup จาก ผลประโยชน์ทับซ้อนของ กทช. สหรัฐ

ความคืบหน้าล่าสุดคือ ส.ส. สหรัฐ (ในฐานะของกรรมาธิการของสภา) เข้ามาสอบสวนเรื่องนี้แล้ว โดยเริ่มจากส่งจดหมายไปยังประธาน FCC ขอให้ตอบคำถามในเรื่องนี้

สภาสหรัฐนี่มีอำนาจตรวจสอบสูงจริงๆ

จาก Ars

Tagged with: , , ,

ผลประโยชน์ทับซ้อนของ กทช. สหรัฐ

Posted in Regulation by markpeak on 13 พฤษภาคม 2011

Meredith Attwell Baker หนึ่งใน กทช. สหรัฐ (FCC) จากโควต้าของพรรครีพับลิกัน ประกาศแผนลาออกจาก กทช. เพื่อไปทำงานล็อบบี้ให้กับบริษัทเคเบิลทีวี Comcast-NBC

เมื่อต้นปี Comcast เพิ่งประกาศแผนการควบกิจการกับสถานีทีวี NBC ซึ่ง FCC ก็มีแผนจะกำหนดเงื่อนไขของการควบรวมให้เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันการผูกขาด และตอนนั้น Meredith Attwell Baker ในฐานะกรรมการคนหนึ่งของ FCC ก็คัดค้านแผนการของ FCC โดยให้เหตุผลว่าการควบบริษัทเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

และ 4 เดือนถัดมาหลัง FCC อนุมัติการซื้อกิจการ เธอก็จะเข้าทำงานกับ Comcast ซะอย่างนั้น

อย่างไรก็ตาม Meredith มีเงื่อนไขว่าไม่สามารถล็อบบี้งานสาย กทช. โทรคม และล็อบบี้ตัวรัฐบาลโอบามาได้ (ถ้าโอบามาได้เป็นอีกสมัยก็ไม่ได้) แต่สามารถไปล็อบบี้สภาคองเกรส (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ FCC หรือรัฐบาล) ได้

แน่นอนว่างานนี้เธอก็โดนวิจารณ์อย่างมาก

NYT, Ars

Tagged with: , , , , ,

ประเด็นการผูกขาดในกรณี AT&T ซื้อ T-Mobile

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 5 พฤษภาคม 2011

เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ของข่าว AT&T ซื้อ T-Mobile ที่ยังไม่น่าจะจบง่ายๆ

สิ่งที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ AT&T กับ T-Mobile ก็ถือครองคลื่นสำหรับให้บริการมือถืออยู่จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว แต่คลื่นเหล่านี้ไม่ค่อยพอใช้สำหรับเครือข่ายที่ขยายตัวเร็วมาก โดยเฉพาะ 4G/LTE

ปี 2008 อเมริกาก็เพิ่งประมูลคลื่น 700Mhz ไปอีกชุดหนึ่ง (คลื่นชุดนี้มาจากการเปลี่ยนทีวีจาก analog > digital ทำให้มีคลื่นว่างเพิ่มอีกช่วงหนึ่ง) คลื่นชุดนี้แบ่งเป็นหลายบล็อค คนประมูลได้ก็มีหลายบริษัท (ทั้ง AT&T และ Verizon) ซึ่งในนี้มี Qualcomm ผู้ผลิตชิปไร้สายรวมอยู่ด้วย

ประเด็นอยู่ที่ว่า Qualcomm ประกาศจะแบ่งไลเซนส์คลื่นที่ประมูลได้ให้กับ T-Mobile (อเมริกาอนุญาตให้ขายหรือเช่าช่วงคลื่นได้ ของไทยยังไม่อนุญาตตาม พรบ  กสทช ปัจจุบัน) อันนี้เจรจากันเรียบร้อยแล้ว คำถามที่ตามมาคือ ถ้า AT&T ซื้อ T-Mobile ได้ จะได้คลื่นชุดนี้ของ Qualcomm ไปด้วยหรือไม่?

AT&T อยากได้คลื่นชุดนี้เอาไปทำ LTE อยู่แล้ว แต่ก็มีกลุ่ม media reform หลายกลุ่มคัดค้านเพราะจะยิ่งทำให้ AT&T ผูกขาดคลื่นเข้าไปอีก

อันนี้เป็นหนึ่งในประเด็นที่ FCC (กทช สหรัฐ) ต้องพิจารณา สำหรับอนุมัติให้ AT&T ซื้อ T-Mobile ได้

จาก Ars Technica

FCC’s Net Neutrality Rule

Posted in Regulation by markpeak on 23 ธันวาคม 2010

ช่วงนี้มีเรื่องอื่นๆ ต้องสนใจเยอะมาก เลยไม่ได้ติดตามประเด็นเรื่องกฎของ Net Neutrality ที่ FCC เพิ่งประกาศออกมา เพิ่งได้อ่านตะกี้

กฎนี้มันดีครึ่งไม่ดีครึ่ง คือ ห้ามบล็อคทราฟฟิก แต่อนุญาตให้คิดราคาการใช้งานทราฟฟิกที่แตกต่างกันได้ (ต่างจากก่อนหน้านี้ที่ยังไม่มีกฎใดๆ) เลยกลายเป็นการอนุญาตให้การคิดเงินตามแอพพลิเคชัน-ชนิดของทราฟฟิกกลายเป้นเรื่องถูกกฎหมายไปแทน

แปะลิงก์

หมายเหตุ: บริบทของอุตสาหกรรม telco ในอเมริกาต่างจากของไทยอยู่พอสมควร เงื่อนไขอาจนำมาใช้แบบเดียวกันไม่ได้

Tagged with: , ,

FCC เตือน สเปกตรัมความถี่จะขาดแคลน

Posted in Regulation by markpeak on 23 ตุลาคม 2010

FCC หรือ กทช. อเมริกาออกเอกสารเตือนว่า ในปี 2014 ปริมาณทราฟฟิกของมือถือจะสูงกว่าปี 2009 ถึง 35 เท่า และจะทำให้สเปกตรัมความถี่สำหรับการสื่อสารไร้สายขาดแคลนอย่างหนัก

ทางออกของสหรัฐก็คือ นำความถี่ที่มีอยู่แล้ว และใช้ในกิจการอื่นๆ มาใช้สำหรับ mobile broadband เช่น ความถี่ที่สถานีโทรทัศน์ครอบครองแตไม่ได้ใช้งานอยู่ 120 MHz ส่วนอื่นๆ คือความถี่ที่ถูกหน่วยงานรัฐครอบครองอยู่

แผนของ FCC คือ ปลดปล่อยความถี่ 300MHz ในอีก 5 ปีข้างหน้า และอีก 200 MHz ใน 5 ปีถัดไป

ที่มา – Computerworld

Tagged with: , ,

Net Neutrality: Google and Verizon Case

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 29 สิงหาคม 2010

เมื่อประมาณ 2 อาทิตย์ก่อน ข่าวใหญ่โตในสหรัฐคือแผน net neutrality ของ Google+Verizon แต่เผอิญช่วงนั้นยุ่งโคตร เลยไม่ได้อ่าน ดองลิงก์ไว้เป็นสิบ

วันนี้พอมีเวลาแล้ว สรุปไว้หน่อยก็ดี

เรื่องเริ่มต้นคือ Google+Verizon เสนอ “แผน net neutrality” ให้ FCC และรัฐบาล-รัฐสภาสหรัฐพิจารณา

เรื่องเหมือนจะดี เพราะเป็น “แผนสนับสนุนแนวทาง net neutrality” แต่มันเป็นเรื่องเพราะว่าในแผนมันแหม่งๆ หลายจุด จนหลายฝ่ายคิดว่า Google+Verizon เอาคำว่า “net neutrality” มาชู (ว่าตัวเองสนับสนุน) แต่เอาจริงแล้วยัดไส้สิ่งที่ตรงกันข้ามเข้ามา

อันที่สรุปไว้ดีคือ Engadget

Now, we don’t know for sure what happened, but we’ve got a theory: the proposal reads to us like Verizon’s basically agreeing to trade neutrality on its wired networks for the right to control its wireless network any way it wants

แยกประเด็นตามที่ Engadget สรุปไว้เก้าข้อ

ประเด็นที่เป็นบวกกับ net neutrality (ในความหมายของคนทั่วไป)

  • Consumer protection – ISP ห้ามบล็อคทราฟฟิกใดๆ หรือจัดความสำคัญของทราฟฟิกใดๆ (ยกเว้น “เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย”)
  • Non-discrimination – ISP ห้ามกีดกันทราฟฟิกใดๆ เช่น กีดกันเนื้อหาจากคู่แข่ง
  • Transparency – ISP ต้องเปิดเผยวิธีการจัดการทราฟฟิก (เช่น บล็อคบิตก็ต้องบอกว่าบล็อคบิต)
  • Network Management – ISP สามารถบริหารจัดการทราฟฟิกได้ (แต่เฉพาะในเชิงเทคนิคเท่านั้น) โดยข้อนี้จะใช้คู่กับข้อ Transparency คือ “บริหารทราฟฟิกได้แต่ต้องเปิดเผยวิธีการให้รู้” อันนี้ดูสมเหตุสมผล
  • Broadband access for Americans – พูดเรื่อง universal access อันนี้ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ

ประเด็นที่เป็นลบ (และเป็นปัญหา)

  • Additional online services – ISP สามารถให้บริการใหม่ๆ ในอนาคตที่ไม่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตได้ ข้อนี้เป็นปัญหาเพราะเปิดช่องให้ Verizon ขาย “internet plus” ที่ไม่แล็ค ไม่บีบบิต ฯลฯ เป็นพิเศษ จึงโดนโจมตีว่าเป็นอินเทอร์เน็ตส่วนตัว  (private internet) และทำให้ข้อดีของอินเทอร์เน็ตเรื่อง public internet หายไป
  • Wireless broadband – แผนการทุกข้อยกเว้นเรื่อง Transparency ครอบคลุมเฉพาะ wireline ไม่รวม wireless โดย Google+Verizon ให้เหตุผลว่า wireless เป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ต้องการการบริหารจัดการอีกแบบ แต่คนทั่วไปมองตาม quote ข้างต้นว่า Verizon ยอมแลก wireline ให้เป็น neutral เพื่อให้ควบคุม wireless (ที่อนาคตไกลกว่ามาก) ได้
  • Case-by-case enforcement – ข้อนี้เป็นการจำกัดอำนาจของ FCC ในการออกกฎเรื่อง net neutrality รวมถึงจำกัดค่าปรับของ FCC
  • Regulatory authority – ข้อนี้เกี่ยวกับอำนาจในการดูแลอินเทอร์เน็ตของ FCC โดยบอกว่า FCC สามารถกำกับดูแล access แต่ไม่สามารถคุม content

ปฏิกริยาจากสื่ออเมริกัน เป็นลบเกือบหมด

บทวิจารณ์ที่น่าสนใจมาจาก Huffington Post เขียนไว้ 5 ข้อ

  • เรื่อง wireless
  • วิจารณ์เรื่อง non-discrimination ว่าอ่อนเกินไป ISP สามารถใช้ข้ออ้างอื่นๆ เพื่อบล็อคบิตได้ไม่ยาก
  • วิจารณ์ข้อ network management ว่าให้สิทธิ์ ISP เป็นคนตัดสินใจบริหารทราฟฟิกให้เรา โดยอ้างเรื่อง “คุณภาพในการให้บริการ” ได้
  • เรื่อง private internet
  • เรื่องการจำกัดอำนาจ FCC

กูเกิลออกมาแก้ข่าวผ่าน Public Policy Blog ดังนี้

  • กูเกิลยังหนุน net neutrality อยู่ แต่รอภาครัฐไม่เกิดเสียที เลยจับมือกับ ISP รายใหญ่ไปพลางๆ
  • เรื่อง wireless มีคุณสมบัติพิเศษ คือ 1) แข่งขันสูงกว่า wireline 2) ต้องใช้คลื่นความถี่ที่มีจำกัด 3) ปัจจุบันค่อนข้างเปิดกว้างอยู่แล้ว
  • กูเกิลบอกว่า proposal นี่คลุมเฉพาะ wireline แต่ก็เชิญให้ FCC ลงมาจัดการ wireless เองสิ
  • กูเกิลปกป้อง private internet โดยบอกว่าตอนนี้ก็มีแล้ว พวกเครือข่ายสำหรับเล่นเกม หรือบริการสาธารณสุข

ปฏิกริยาจาก FCC ออกมายังไม่ชัดเจนนัก

  • หนึ่งในคณะกรรมการของ FCC บอกเพียงว่า FCC จะต้องกล้าตัดสินใจ และดูเรื่องขอบเขตอำนาจของ FCC (สรุปว่า FCC ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแผน Google+Verizon) – TechCrunch

ปฏิกริยาอื่นๆ

  • กลุ่มนักเคลื่อนไหวไปประท้วงกูเกิลที่สำนักงานใหญ่ – PC Mag
  • EVP ของ Verizon ออกมาปกป้องแผนการ โดยยกข้อดีตามหลัก PR ทั่วไป – PC Mag
  • คำวิจารณ์จาก EFF (ยังไม่ได้อ่าน)
Tagged with: , , , ,

จาก CableCARD สู่ AllVid

Posted in internet tv, Regulation by markpeak on 27 กรกฎาคม 2010

จดไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง เผื่อในอนาคตจะเห็นการกำกับดูแล content ใน digital tv ของเมืองไทยบ้าง

FCC กำลังจะเปลี่ยนมาตรฐาน CableCARD ซึ่งเป็นหัวต่อจาก DTV หรือเคเบิลทีวี มายังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น PC โดยตรง ไม่ต้องผ่าน set-top box ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ fail และกำลังจะมาใช้อันใหม่ที่เรียกว่า AllVid

จาก Wikipedia บอกว่า กูเกิลประกาศสนับสนุน AllVid เต็มที่ ให้เดา นี่มันเป็นการ liberate ตัวเนื้อหาออกจาก set-top box ของ cable provider อย่างหนึ่ง

ที่เหลือลองอ่านใน Ars

Tagged with: , , ,

FCC เปลี่ยนวิธีการตรวจวัด broadband coverage ในสหรัฐใหม่

Posted in infrastructure by markpeak on 24 กรกฎาคม 2010

FCC จะต้องออกรายงาน broadband competitiveness ของสหรัฐเป็นประจำทุกปี

วิธีการตรวจวัดคือเช็คตาม zip code โดยดูว่าบ้าน 1 บ้าน (สุ่มมา) ในเขต zip code นั้นเข้าถึง broadband หรือไม่ ถ้ามีก็ถือว่าเขตนั้นผ่าน ซึ่งเป็นวิธีที่โดนด่ามานานมาก (ตั้งกะ 2006) ว่ามันหยาบสุดๆ

ตอนนี้ FCC ยอมเปลี่ยนวิธีการตรวจวัดแล้ว และยกเกณฑ์นับ broadband จากเดิมขั้นต่ำ 200 Kbps มาเป็น 4 Mbps downlink กับ 1 Mbps uplink

ในแง่ผู้บริโภคและประชาชน เป็นเรื่องดี

แต่มีคนเสียประโยชน์คือ operator เพราะเดิม FCC ตรวจแบบหยาบๆ ทำให้ซุกประเด็นว่าพื้นที่ใดเข้าไม่ถึงบรอดแบนด์ได้ง่าย พอเปลี่ยนปั๊บ operator เลยออกมาโวยวาย ที่น่าสนใจคือคนโวย (ตามแบบสหรัฐ) เป็นวุฒิสมาชิกที่ได้รับการล็อบบี้จาก telco นั่นเอง

Techdirt

Tagged with: , , ,

สหรัฐเตรียมเรียกคืนคลื่น 500 MHz สำหรับ Wireless Broadband

Posted in infrastructure by markpeak on 30 มิถุนายน 2010

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ดันแผน Wireless Broadband สำหรับอเมริกาในอนาคต เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสาร โดยเล็งช่วงคลื่น 500 MHz และสั่งให้หน่วยงานต่างๆ ประชุมเพื่อเรียกคืนความถี่ช่วง 500 MHz มาให้ FCC จัดสรรใหม่

ความน่าสนใจใน Memorandum ของโอบามาคือ วิธีการสั่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ เข้ามาประชุมกับ task force ในการจัดสรรคลื่นใหม่ และวิธีการสั่งงานของระบบราชการสหรัฐ ซึ่งทำให้เราเห็นว่ากระบวนการดำเนินนโยบายต้องผ่านใครบ้าง

The Secretaries of Defense, the Treasury, Transportation, State, the Interior, Agriculture, Energy, and Homeland Security, the Attorney General, the Administrators of the National Aeronautics and Space Administration (NASA) and the Federal Aviation Administration, the Director of National Intelligence, the Commandant of the United States Coast Guard, and the head of any other executive department or agency that is currently authorized to use spectrum shall participate and cooperate fully

ต้นข่าวจาก Ars

Tagged with: , , , ,

ปัญหาเรื่องราคาของบรอดแบนด์ในสหรัฐ

Posted in infrastructure, Policy by markpeak on 22 มีนาคม 2010

Ending the Internet’s Trench Warfare

บทความใน NYT พูดถึงปัญหาเรื่องราคา broadband ในสหรัฐ ว่าใจความหลักคือตลาดไม่มีการแข่งขันแท้จริง แม้ว่าจะสามารถพัฒนาเรื่องความเร็วได้ แต่ราคาไม่มีทางเข้าถึงประชาชนจำนวนมากได้อย่างในยุโรป (เมื่อเทียบกับค่าครองชีพ)

the source of the access problem: without a major policy shift to increase competition, broadband service in the United States will continue to lag far behind the rest of the developed world.

Affordability is the hard part — because there is no competition pushing down prices. The plan acknowledges that only 15 percent of homes will have a choice in providers, and then only between Verizon’s FiOS fiber-optic network and the local cable company. (AT&T’s “fiber” offering is merely souped-up DSL transmitted partly over its old copper wires, which can’t compete at these higher speeds.) The remaining 85 percent will have no choice at all.

เปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ

Making such an arrangement work is ultimately a matter of political will. In Japan and many European countries, regulators fought hard to bring existing providers around to open access. They won, and today these countries have more competition, lower prices and higher speeds. Such political will is glaringly absent in the commission’s plan.