The Future of Internet

พฤติกรรมการใช้ Smart Phone (สำรวจโดยกูเกิล)

Posted in Behavior by markpeak on 8 พฤษภาคม 2011

เป็นผลสำรวจของกูเกิล (ผ่านทีม Mobile Ads) ว่าจะเขียนลง Blognone แต่ก็รู้สึกว่าเก่าแล้ว ยกมาแปะตรงนี้แล้วกัน ไฮไลท์โดยผมเอง

โดยสรุปก็คือ local ad จะเป็นตลาดที่ใหญ่มากของ smart phone โดยเฉพาะโฆษณาที่ขายของ (ไม่ใช่ขายแบรนด์) อ่านโพสต์นี้ประกอบ

General Smartphone Usage: Smartphones have become an integral part of users’ daily lives. Consumers use smartphones as an extension of their desktop computers and use it as they multi-task and consume other media.
  • 81% browse the Internet, 77% search, 68% use an app, and 48% watch videos on their smartphone
  • 72% use their smartphones while consuming other media, with a third while watching TV
  • 93% of smartphone owners use their smartphones while at home
Action-Oriented Searchers: Mobile search is heavily used to find a wide variety of information and to navigate the mobile Internet.
  • Search engine websites are the most visited websites with 77% of smartphone users citing this, followed by social networking, retail and video sharing websites
  • Nine out of ten smartphone searches results in an action (purchasing, visiting a business, etc.)
  • 24% recommended a brand or product to others as a result of a smartphone search
Local Information Seekers: Looking for local information is done by virtually all smartphone users and consumers are ready to act on the information they find.
  • 95% of smartphone users have looked for local information
  • 88% of these users take action within a day, indicating these are immediate information needs
  • 77% have contacted a business, with 61% calling and 59% visiting the local business
Purchase-driven Shoppers: Smartphones have become an indispensable shopping tool and are used across channels and throughout the research and decision-making process.
  • 79% of smartphone consumers use their phones to help with shopping, from comparing prices, finding more product info to locating a retailer
  • 74% of smartphone shoppers make a purchase, whether online, in-store, or on their phones
  • 70% use their smartphones while in the store, reflecting varied purchase paths that often begin online or on their phones and brings consumers to the store
Reaching Mobile Consumers: Cross-media exposure influences smartphone user behavior and a majority notice mobile ads which leads to taking action on it.
  • 71% search on their phones because of an ad exposure, whether from traditional media (68%) to online ads (18%) to mobile ads (27%)
  • 82% notice mobile ads, especially mobile display ads and a third notice mobile search ads
  • Half of those who see a mobile ad take action, with 35% visiting a website and 49% making a purchase

Net Neutrality: Google and Verizon Case

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 29 สิงหาคม 2010

เมื่อประมาณ 2 อาทิตย์ก่อน ข่าวใหญ่โตในสหรัฐคือแผน net neutrality ของ Google+Verizon แต่เผอิญช่วงนั้นยุ่งโคตร เลยไม่ได้อ่าน ดองลิงก์ไว้เป็นสิบ

วันนี้พอมีเวลาแล้ว สรุปไว้หน่อยก็ดี

เรื่องเริ่มต้นคือ Google+Verizon เสนอ “แผน net neutrality” ให้ FCC และรัฐบาล-รัฐสภาสหรัฐพิจารณา

เรื่องเหมือนจะดี เพราะเป็น “แผนสนับสนุนแนวทาง net neutrality” แต่มันเป็นเรื่องเพราะว่าในแผนมันแหม่งๆ หลายจุด จนหลายฝ่ายคิดว่า Google+Verizon เอาคำว่า “net neutrality” มาชู (ว่าตัวเองสนับสนุน) แต่เอาจริงแล้วยัดไส้สิ่งที่ตรงกันข้ามเข้ามา

อันที่สรุปไว้ดีคือ Engadget

Now, we don’t know for sure what happened, but we’ve got a theory: the proposal reads to us like Verizon’s basically agreeing to trade neutrality on its wired networks for the right to control its wireless network any way it wants

แยกประเด็นตามที่ Engadget สรุปไว้เก้าข้อ

ประเด็นที่เป็นบวกกับ net neutrality (ในความหมายของคนทั่วไป)

  • Consumer protection – ISP ห้ามบล็อคทราฟฟิกใดๆ หรือจัดความสำคัญของทราฟฟิกใดๆ (ยกเว้น “เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย”)
  • Non-discrimination – ISP ห้ามกีดกันทราฟฟิกใดๆ เช่น กีดกันเนื้อหาจากคู่แข่ง
  • Transparency – ISP ต้องเปิดเผยวิธีการจัดการทราฟฟิก (เช่น บล็อคบิตก็ต้องบอกว่าบล็อคบิต)
  • Network Management – ISP สามารถบริหารจัดการทราฟฟิกได้ (แต่เฉพาะในเชิงเทคนิคเท่านั้น) โดยข้อนี้จะใช้คู่กับข้อ Transparency คือ “บริหารทราฟฟิกได้แต่ต้องเปิดเผยวิธีการให้รู้” อันนี้ดูสมเหตุสมผล
  • Broadband access for Americans – พูดเรื่อง universal access อันนี้ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ

ประเด็นที่เป็นลบ (และเป็นปัญหา)

  • Additional online services – ISP สามารถให้บริการใหม่ๆ ในอนาคตที่ไม่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตได้ ข้อนี้เป็นปัญหาเพราะเปิดช่องให้ Verizon ขาย “internet plus” ที่ไม่แล็ค ไม่บีบบิต ฯลฯ เป็นพิเศษ จึงโดนโจมตีว่าเป็นอินเทอร์เน็ตส่วนตัว  (private internet) และทำให้ข้อดีของอินเทอร์เน็ตเรื่อง public internet หายไป
  • Wireless broadband – แผนการทุกข้อยกเว้นเรื่อง Transparency ครอบคลุมเฉพาะ wireline ไม่รวม wireless โดย Google+Verizon ให้เหตุผลว่า wireless เป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ต้องการการบริหารจัดการอีกแบบ แต่คนทั่วไปมองตาม quote ข้างต้นว่า Verizon ยอมแลก wireline ให้เป็น neutral เพื่อให้ควบคุม wireless (ที่อนาคตไกลกว่ามาก) ได้
  • Case-by-case enforcement – ข้อนี้เป็นการจำกัดอำนาจของ FCC ในการออกกฎเรื่อง net neutrality รวมถึงจำกัดค่าปรับของ FCC
  • Regulatory authority – ข้อนี้เกี่ยวกับอำนาจในการดูแลอินเทอร์เน็ตของ FCC โดยบอกว่า FCC สามารถกำกับดูแล access แต่ไม่สามารถคุม content

ปฏิกริยาจากสื่ออเมริกัน เป็นลบเกือบหมด

บทวิจารณ์ที่น่าสนใจมาจาก Huffington Post เขียนไว้ 5 ข้อ

  • เรื่อง wireless
  • วิจารณ์เรื่อง non-discrimination ว่าอ่อนเกินไป ISP สามารถใช้ข้ออ้างอื่นๆ เพื่อบล็อคบิตได้ไม่ยาก
  • วิจารณ์ข้อ network management ว่าให้สิทธิ์ ISP เป็นคนตัดสินใจบริหารทราฟฟิกให้เรา โดยอ้างเรื่อง “คุณภาพในการให้บริการ” ได้
  • เรื่อง private internet
  • เรื่องการจำกัดอำนาจ FCC

กูเกิลออกมาแก้ข่าวผ่าน Public Policy Blog ดังนี้

  • กูเกิลยังหนุน net neutrality อยู่ แต่รอภาครัฐไม่เกิดเสียที เลยจับมือกับ ISP รายใหญ่ไปพลางๆ
  • เรื่อง wireless มีคุณสมบัติพิเศษ คือ 1) แข่งขันสูงกว่า wireline 2) ต้องใช้คลื่นความถี่ที่มีจำกัด 3) ปัจจุบันค่อนข้างเปิดกว้างอยู่แล้ว
  • กูเกิลบอกว่า proposal นี่คลุมเฉพาะ wireline แต่ก็เชิญให้ FCC ลงมาจัดการ wireless เองสิ
  • กูเกิลปกป้อง private internet โดยบอกว่าตอนนี้ก็มีแล้ว พวกเครือข่ายสำหรับเล่นเกม หรือบริการสาธารณสุข

ปฏิกริยาจาก FCC ออกมายังไม่ชัดเจนนัก

  • หนึ่งในคณะกรรมการของ FCC บอกเพียงว่า FCC จะต้องกล้าตัดสินใจ และดูเรื่องขอบเขตอำนาจของ FCC (สรุปว่า FCC ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแผน Google+Verizon) – TechCrunch

ปฏิกริยาอื่นๆ

  • กลุ่มนักเคลื่อนไหวไปประท้วงกูเกิลที่สำนักงานใหญ่ – PC Mag
  • EVP ของ Verizon ออกมาปกป้องแผนการ โดยยกข้อดีตามหลัก PR ทั่วไป – PC Mag
  • คำวิจารณ์จาก EFF (ยังไม่ได้อ่าน)
Tagged with: , , , ,

Net Neutrality: Google & Verizon Case

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 5 สิงหาคม 2010

ประเด็นใหม่เรื่อง Net Neutrality

ตามข่าว NYT บอกว่า Google กับ Verizon กำลังจะทำข้อตกลงกัน เพื่อให้เนื้อหาบางอย่าง “สำคัญกว่า” เนื้อหาชนิดอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ลูกค้า Verizon Plus จ่ายเพิ่มเดือนละ 10 เหรียญ ได้ดู YouTube ไวขึ้น 50% เป็นต้น

ปัญหานี้เข้าข่าย Net Neutrality ที่มองว่า content ทุกชนิดควรเท่าเทียมกัน

คำถามที่น่าสนใจ

  1. ท่าทีที่ผ่านมาของกูเกิล นิยม Net Neutrality มาตลอด แต่ตอนนี้จะเปลี่ยนไปหรือไม่ (ได้เงินเพิ่ม จะโดนหาว่า evil ก็คงยอมแหละมั้ง)
  2. FCC ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม จะเข้ามามีบทบาทอย่างไร
Tagged with: , ,

The Future of News

Posted in Online Media by markpeak on 9 ธันวาคม 2009

กูเกิล

AOL

Tagged with: , , ,