The Future of Internet

อัตราการเติบโตของ Mobile Data ในสหรัฐ, ราคาเฉลี่ยลดลง

Posted in infrastructure by markpeak on 19 มิถุนายน 2011

เป็นข้อมูลจาก Nielsen บอกว่าอัตราการบริโภค mobile data ของสหรัฐเติบโตอย่างไร สรุปสั้นๆ ว่า

  • โตขึ้นพรวด
  • Android บริโภคเยอะสุด
  • ราคาเฉลี่ยของ data ลดลงเรื่อยๆ
ที่เหลืออ่านตามลิงก์ Nielsen – Average U.S. Smartphone Data Usage Up 89% as Cost per MB Goes Down 46%

 

 

 

ผลประโยชน์ทับซ้อนของ กทช. สหรัฐ

Posted in Regulation by markpeak on 13 พฤษภาคม 2011

Meredith Attwell Baker หนึ่งใน กทช. สหรัฐ (FCC) จากโควต้าของพรรครีพับลิกัน ประกาศแผนลาออกจาก กทช. เพื่อไปทำงานล็อบบี้ให้กับบริษัทเคเบิลทีวี Comcast-NBC

เมื่อต้นปี Comcast เพิ่งประกาศแผนการควบกิจการกับสถานีทีวี NBC ซึ่ง FCC ก็มีแผนจะกำหนดเงื่อนไขของการควบรวมให้เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันการผูกขาด และตอนนั้น Meredith Attwell Baker ในฐานะกรรมการคนหนึ่งของ FCC ก็คัดค้านแผนการของ FCC โดยให้เหตุผลว่าการควบบริษัทเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

และ 4 เดือนถัดมาหลัง FCC อนุมัติการซื้อกิจการ เธอก็จะเข้าทำงานกับ Comcast ซะอย่างนั้น

อย่างไรก็ตาม Meredith มีเงื่อนไขว่าไม่สามารถล็อบบี้งานสาย กทช. โทรคม และล็อบบี้ตัวรัฐบาลโอบามาได้ (ถ้าโอบามาได้เป็นอีกสมัยก็ไม่ได้) แต่สามารถไปล็อบบี้สภาคองเกรส (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ FCC หรือรัฐบาล) ได้

แน่นอนว่างานนี้เธอก็โดนวิจารณ์อย่างมาก

NYT, Ars

Tagged with: , , , , ,

ประเด็นการผูกขาดในกรณี AT&T ซื้อ T-Mobile

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 5 พฤษภาคม 2011

เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ของข่าว AT&T ซื้อ T-Mobile ที่ยังไม่น่าจะจบง่ายๆ

สิ่งที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ AT&T กับ T-Mobile ก็ถือครองคลื่นสำหรับให้บริการมือถืออยู่จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว แต่คลื่นเหล่านี้ไม่ค่อยพอใช้สำหรับเครือข่ายที่ขยายตัวเร็วมาก โดยเฉพาะ 4G/LTE

ปี 2008 อเมริกาก็เพิ่งประมูลคลื่น 700Mhz ไปอีกชุดหนึ่ง (คลื่นชุดนี้มาจากการเปลี่ยนทีวีจาก analog > digital ทำให้มีคลื่นว่างเพิ่มอีกช่วงหนึ่ง) คลื่นชุดนี้แบ่งเป็นหลายบล็อค คนประมูลได้ก็มีหลายบริษัท (ทั้ง AT&T และ Verizon) ซึ่งในนี้มี Qualcomm ผู้ผลิตชิปไร้สายรวมอยู่ด้วย

ประเด็นอยู่ที่ว่า Qualcomm ประกาศจะแบ่งไลเซนส์คลื่นที่ประมูลได้ให้กับ T-Mobile (อเมริกาอนุญาตให้ขายหรือเช่าช่วงคลื่นได้ ของไทยยังไม่อนุญาตตาม พรบ  กสทช ปัจจุบัน) อันนี้เจรจากันเรียบร้อยแล้ว คำถามที่ตามมาคือ ถ้า AT&T ซื้อ T-Mobile ได้ จะได้คลื่นชุดนี้ของ Qualcomm ไปด้วยหรือไม่?

AT&T อยากได้คลื่นชุดนี้เอาไปทำ LTE อยู่แล้ว แต่ก็มีกลุ่ม media reform หลายกลุ่มคัดค้านเพราะจะยิ่งทำให้ AT&T ผูกขาดคลื่นเข้าไปอีก

อันนี้เป็นหนึ่งในประเด็นที่ FCC (กทช สหรัฐ) ต้องพิจารณา สำหรับอนุมัติให้ AT&T ซื้อ T-Mobile ได้

จาก Ars Technica

ค่าโทรมือถือแคนาดา-สหรัฐ แพงที่สุดในโลก

Posted in infrastructure by markpeak on 16 ตุลาคม 2010

เป็นผลสำรวจของ America Foundation’s Open Technology Initiative (OTI) ดูราคาการเป็นสมาชิกใช้บริการโทรศัพท์มือถือของประเทศต่างๆ พบว่าแคนาดาสูงที่สุดในกลุ่มประเทศที่สำรวจ ตามติดๆ ด้วยอเมริกา

ที่มา – Ars Technica

หมายเหตุ: การสำรวจนับเป็นตัวเงินอย่างเดียว ไม่ได้เทียบกับค่าครองชีพครับ

Net Neutrality: Google and Verizon Case

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 29 สิงหาคม 2010

เมื่อประมาณ 2 อาทิตย์ก่อน ข่าวใหญ่โตในสหรัฐคือแผน net neutrality ของ Google+Verizon แต่เผอิญช่วงนั้นยุ่งโคตร เลยไม่ได้อ่าน ดองลิงก์ไว้เป็นสิบ

วันนี้พอมีเวลาแล้ว สรุปไว้หน่อยก็ดี

เรื่องเริ่มต้นคือ Google+Verizon เสนอ “แผน net neutrality” ให้ FCC และรัฐบาล-รัฐสภาสหรัฐพิจารณา

เรื่องเหมือนจะดี เพราะเป็น “แผนสนับสนุนแนวทาง net neutrality” แต่มันเป็นเรื่องเพราะว่าในแผนมันแหม่งๆ หลายจุด จนหลายฝ่ายคิดว่า Google+Verizon เอาคำว่า “net neutrality” มาชู (ว่าตัวเองสนับสนุน) แต่เอาจริงแล้วยัดไส้สิ่งที่ตรงกันข้ามเข้ามา

อันที่สรุปไว้ดีคือ Engadget

Now, we don’t know for sure what happened, but we’ve got a theory: the proposal reads to us like Verizon’s basically agreeing to trade neutrality on its wired networks for the right to control its wireless network any way it wants

แยกประเด็นตามที่ Engadget สรุปไว้เก้าข้อ

ประเด็นที่เป็นบวกกับ net neutrality (ในความหมายของคนทั่วไป)

  • Consumer protection – ISP ห้ามบล็อคทราฟฟิกใดๆ หรือจัดความสำคัญของทราฟฟิกใดๆ (ยกเว้น “เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย”)
  • Non-discrimination – ISP ห้ามกีดกันทราฟฟิกใดๆ เช่น กีดกันเนื้อหาจากคู่แข่ง
  • Transparency – ISP ต้องเปิดเผยวิธีการจัดการทราฟฟิก (เช่น บล็อคบิตก็ต้องบอกว่าบล็อคบิต)
  • Network Management – ISP สามารถบริหารจัดการทราฟฟิกได้ (แต่เฉพาะในเชิงเทคนิคเท่านั้น) โดยข้อนี้จะใช้คู่กับข้อ Transparency คือ “บริหารทราฟฟิกได้แต่ต้องเปิดเผยวิธีการให้รู้” อันนี้ดูสมเหตุสมผล
  • Broadband access for Americans – พูดเรื่อง universal access อันนี้ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ

ประเด็นที่เป็นลบ (และเป็นปัญหา)

  • Additional online services – ISP สามารถให้บริการใหม่ๆ ในอนาคตที่ไม่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตได้ ข้อนี้เป็นปัญหาเพราะเปิดช่องให้ Verizon ขาย “internet plus” ที่ไม่แล็ค ไม่บีบบิต ฯลฯ เป็นพิเศษ จึงโดนโจมตีว่าเป็นอินเทอร์เน็ตส่วนตัว  (private internet) และทำให้ข้อดีของอินเทอร์เน็ตเรื่อง public internet หายไป
  • Wireless broadband – แผนการทุกข้อยกเว้นเรื่อง Transparency ครอบคลุมเฉพาะ wireline ไม่รวม wireless โดย Google+Verizon ให้เหตุผลว่า wireless เป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ต้องการการบริหารจัดการอีกแบบ แต่คนทั่วไปมองตาม quote ข้างต้นว่า Verizon ยอมแลก wireline ให้เป็น neutral เพื่อให้ควบคุม wireless (ที่อนาคตไกลกว่ามาก) ได้
  • Case-by-case enforcement – ข้อนี้เป็นการจำกัดอำนาจของ FCC ในการออกกฎเรื่อง net neutrality รวมถึงจำกัดค่าปรับของ FCC
  • Regulatory authority – ข้อนี้เกี่ยวกับอำนาจในการดูแลอินเทอร์เน็ตของ FCC โดยบอกว่า FCC สามารถกำกับดูแล access แต่ไม่สามารถคุม content

ปฏิกริยาจากสื่ออเมริกัน เป็นลบเกือบหมด

บทวิจารณ์ที่น่าสนใจมาจาก Huffington Post เขียนไว้ 5 ข้อ

  • เรื่อง wireless
  • วิจารณ์เรื่อง non-discrimination ว่าอ่อนเกินไป ISP สามารถใช้ข้ออ้างอื่นๆ เพื่อบล็อคบิตได้ไม่ยาก
  • วิจารณ์ข้อ network management ว่าให้สิทธิ์ ISP เป็นคนตัดสินใจบริหารทราฟฟิกให้เรา โดยอ้างเรื่อง “คุณภาพในการให้บริการ” ได้
  • เรื่อง private internet
  • เรื่องการจำกัดอำนาจ FCC

กูเกิลออกมาแก้ข่าวผ่าน Public Policy Blog ดังนี้

  • กูเกิลยังหนุน net neutrality อยู่ แต่รอภาครัฐไม่เกิดเสียที เลยจับมือกับ ISP รายใหญ่ไปพลางๆ
  • เรื่อง wireless มีคุณสมบัติพิเศษ คือ 1) แข่งขันสูงกว่า wireline 2) ต้องใช้คลื่นความถี่ที่มีจำกัด 3) ปัจจุบันค่อนข้างเปิดกว้างอยู่แล้ว
  • กูเกิลบอกว่า proposal นี่คลุมเฉพาะ wireline แต่ก็เชิญให้ FCC ลงมาจัดการ wireless เองสิ
  • กูเกิลปกป้อง private internet โดยบอกว่าตอนนี้ก็มีแล้ว พวกเครือข่ายสำหรับเล่นเกม หรือบริการสาธารณสุข

ปฏิกริยาจาก FCC ออกมายังไม่ชัดเจนนัก

  • หนึ่งในคณะกรรมการของ FCC บอกเพียงว่า FCC จะต้องกล้าตัดสินใจ และดูเรื่องขอบเขตอำนาจของ FCC (สรุปว่า FCC ไม่ค่อยเห็นด้วยกับแผน Google+Verizon) – TechCrunch

ปฏิกริยาอื่นๆ

  • กลุ่มนักเคลื่อนไหวไปประท้วงกูเกิลที่สำนักงานใหญ่ – PC Mag
  • EVP ของ Verizon ออกมาปกป้องแผนการ โดยยกข้อดีตามหลัก PR ทั่วไป – PC Mag
  • คำวิจารณ์จาก EFF (ยังไม่ได้อ่าน)
Tagged with: , , , ,

ก. ต่างประเทศสหรัฐ เริ่มสนใจเรื่องการจ่ายเงินผ่านมือถือ

Posted in Policy by markpeak on 25 กรกฎาคม 2010

State Department Sets Out to Figure Out Mobile Money – Tech President

Elana Berkowitz is part of the Innovation Office working under Secretary Clinton, newly assigned to State after a stint helping to write the National Broadband Plan at the FCC. She describes the promise of mobile banking as part of a broader State effort at increasing financial inclusion around the globe. “For us, part of the potentially transformative impact of mobile money is that we have so many people around the world who don’t have formal bank accounts, or formal financial identities,” she says, “and yet we’re seeing such an explosion in mobile in the world, to the point where there are 1.7 billion people who don’t have access to financial services, but do have access to a mobile phone.”

Mobile finance is one aspect of the State Department’s high-tech push where other in-depth is being done around the world, inside and outside government. The Gates Foundation and USAID recently announced a $10 million new fund to figure out how mobile banking might help in the rebuilding of post-earthquake Haiti. And on Tuesday, the Consultative Group to Assist the Poor, or CGAP, put out a report assessing ” Microfinance and Mobile Banking: The Story So Far.”

นอกจากเนื้อหาด้าน mobile finance แล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ “ความก้าวหน้า” ของวิธีคิดของ ก. ต่างประเทศสหรัฐด้วย

Walt Mossberg วิจารณ์แผน National Broadband Plan

Posted in infrastructure, Policy by markpeak on 24 กรกฎาคม 2010

แผนบรอดแบนด์แห่งชาติของสหรัฐ เคยถูกวิจารณ์ว่ามันหน่อมแน้มเกินไป สหรัฐดันแผนบรอดแบนด์ 4Mbps ทั่วประเทศในปี 2020, วุฒิสมาชิกบอกช้าไป

ข่าวเพิ่มเติมคือ Walt Mossberg แห่ง WSJ ก็ออกมาวิจารณ์มันเหมือนกัน โดยเขาบอกว่าเป็นเรื่องดีที่สหรัฐมี broadband plan เป็นครั้งแรก แต่มันก็ไม่ค่อยทะเยอทะยานเท่าไร

“For the first time the FCC has come up with a broadband policy so yes, that’s progress,” Mossberg said. “I don’t think it’s very strong, and I think a lot of it is just suggestions and kind of pretty vague. So I wish it were tougher. But I also understand there are a lot of other important issues that the president and congress have to worry about right now.”

Mossberg บอกว่าสนับสนุนแผนที่ แต่ประเด็นที่ยังไม่ดีพอคือ speed และ cost

“There are plans and services that are sold in this country as broadband which wouldn’t even be allowed to be labeled broadband in a lot of other countries they’re so slow,” Mossberg said. “And yet, at the very same time we pay more per unit of broadband speed than anyone else. So there’s something wrong in my opinion.”

The Hill

FCC เปลี่ยนวิธีการตรวจวัด broadband coverage ในสหรัฐใหม่

Posted in infrastructure by markpeak on 24 กรกฎาคม 2010

FCC จะต้องออกรายงาน broadband competitiveness ของสหรัฐเป็นประจำทุกปี

วิธีการตรวจวัดคือเช็คตาม zip code โดยดูว่าบ้าน 1 บ้าน (สุ่มมา) ในเขต zip code นั้นเข้าถึง broadband หรือไม่ ถ้ามีก็ถือว่าเขตนั้นผ่าน ซึ่งเป็นวิธีที่โดนด่ามานานมาก (ตั้งกะ 2006) ว่ามันหยาบสุดๆ

ตอนนี้ FCC ยอมเปลี่ยนวิธีการตรวจวัดแล้ว และยกเกณฑ์นับ broadband จากเดิมขั้นต่ำ 200 Kbps มาเป็น 4 Mbps downlink กับ 1 Mbps uplink

ในแง่ผู้บริโภคและประชาชน เป็นเรื่องดี

แต่มีคนเสียประโยชน์คือ operator เพราะเดิม FCC ตรวจแบบหยาบๆ ทำให้ซุกประเด็นว่าพื้นที่ใดเข้าไม่ถึงบรอดแบนด์ได้ง่าย พอเปลี่ยนปั๊บ operator เลยออกมาโวยวาย ที่น่าสนใจคือคนโวย (ตามแบบสหรัฐ) เป็นวุฒิสมาชิกที่ได้รับการล็อบบี้จาก telco นั่นเอง

Techdirt

Tagged with: , , ,

Spectrum Re-farming – Sprint Case

Posted in infrastructure by markpeak on 24 กรกฎาคม 2010

ช่วงหลังมาสนใจเรื่อง spectrum allocation เยอะขึ้น

แนวคิดหลักๆ ของ telecom regulation ในยุคใหม่ก็คือ spectrum มีจำกัดมาก เลยต้อง re-use กันเยอะขึ้น (ศัพท์ในวงการเรียก re-farming) กรณีที่ชัดคือ สหรัฐเตรียมเรียกคืนคลื่น 500 MHz สำหรับ Wireless Broadband

ส่วนอันนี้เป็นอีกกรณีของภาคเอกชนคือ Sprint ซึ่งถือครองคลื่นช่วงกว้าง 35MHz สำหรับ broadcast auxiliary service (BAS) หรือการส่งคลื่นกันเองระหว่างสถานีวิทยุ/ทีวี ซึ่งทาง Sprint ได้มีแผนยกเลิก BAS ตั้งแต่ปี 2005 โดยใช้วิธีการส่งข้อมูลแบบอื่น เพื่อจะเอา 35 MHz ไปทำประโยชน์อื่น (ซึ่งบอกว่าจะเป็น wireless broadband) ตอนนี้ทำเสร็จแล้ว ประกาศตัวเรียบร้อย

Engadget

Tagged with: , ,

โอบามาอนุมัติงบ 795 ล้านดอลลาร์ ผลักดันบรอดแบนด์กระตุ้นเศรษฐกิจ

Posted in infrastructure by markpeak on 4 กรกฎาคม 2010

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา อนุมัติงบประมาณ 795 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 26,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับบรอดแบนด์ของสหรัฐ 66 โครงการ

เงินจำนวนนี้มาจากงบประมาณการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2009 โดยสหรัฐหวังว่าเงินจำนวนนี้จะช่วยให้คนอเมริกาเข้าถึงอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีผลช่วยให้ธุรกิจสหรัฐในอนาคตมีประสิทธิภาพขึ้นในระยะยาว

เป้าหมายทางเศรษฐกิจของโครงการนี้คือสร้างงาน 5,000 ตำแหน่ง และกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชนอีก 200 ล้านดอลลาร์

ที่มา – CNN