The Future of Internet

ปัญหาใหม่ของ Regulator: กำกับดูแล Internet ผ่านสายไฟฟ้า

Posted in Regulation by markpeak on 6 เมษายน 2011

เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของอังกฤษ คือเริ่มมีอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้า (powerline) ของบริษัท Powerline Telecommunications (PLT) แต่ก็มีปัญหาว่าการส่งสัญญาณผ่านสายไม่มีฉนวนทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน (คนที่โดนกวนคือพวกวิทยุสมัครเล่น และการบิน)

ปัญหาเด้งที่สองคือ Ofcom หรือ กทช. อังกฤษ บอกว่าฉันไม่มีอำนาจดูแล ก็ต้องดูกันต่อว่าเป็นอำนาจของใครกันแน่

กสทช. บ้านเราก็น่าจะเจอปัญหานี้เหมือนกัน

Ofcom refuses to interfere on powerline networking interference

2 อาทิตย์แรกหลังหนังสือพิมพ์ The Times เปิด Paywall

Posted in Online Media by markpeak on 25 กรกฎาคม 2010

ประเด็นเรื่อง paid content & paywall

2 อาทิตย์หลัง นสพ. The Times ของอังกฤษเริ่มใช้นโยบาย paywall มีสถิติ (อย่างไม่เป็นทางการ) ดังนี้

  • คนลงทะเบียนเป็นสมาชิก 150,000 ราย (ช่วงทดลองใช้ฟรีก่อนหน้านี้) ถือเป็น 12% ของคนอ่านทั้งหมด
  • คนที่ยอมเสียเงินเป็นสมาชิกแบบพรีเมียม 15,000 ราย (มีคอมเมนต์ว่าต่ำกว่าที่คาด) ถือเป็น 10% ของข้อตะกี้
  • สมาชิกเวอร์ชัน iPad = 12,500 ราย
  • หลังจากเปิด paywall แล้ว (เดือนแรกฟรี) ทราฟฟิกลดลง 58% จากเดิม
  • หลังจากเปิด paywall แบบเสียเงินเต็ม ทราฟฟิกลดลง 67% จากเดิม

ถ้าคนเข้าน้อยลงแต่ทำเงินได้เยอะขึ้นก็คุ้มนะ

ที่มา – paidContent

การบังคับให้สมัครสมาชิกเว็บก่อนอ่าน ทำให้ทราฟฟิกหด

Posted in Online Media, Statistics by markpeak on 27 มิถุนายน 2010

ประเด็นเรื่อง paywall ของเว็บ นสพ. เป็นเรื่องที่พูดกันมามากแล้ว อันนี้เป็นกรณีของ นสพ. The Times ของอังกฤษ โดยทดลองให้สมัครสมาชิก (ฟรี) ก่อนเข้าไปอ่านเนื้อหาบนเว็บ ผลก็คือ คนหนีไปอ่านเว็บอื่นกันหมด

สำนักสถิติ HitWise มีข้อมูลตรงนี้ จะเห็นว่ายอดคนเข้า thetimes ลดลงชัดเจนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

รายละเอียดอื่นๆ ดูใน HitWise, Ars Technica

Tagged with: , , , ,

Net Neutrality in UK

Posted in Regulation by markpeak on 27 มิถุนายน 2010

Ars Technica มีบทความเรื่อง Ofcom กับ Net Neutrality ในอังกฤษ

ยังไม่มีความชัดเจนอะไรนัก แต่ Ofcom เริ่มลงมาดูเรื่องนี้แล้ว (PDF)

แนวคิด 3 ส่วนของ Ofcom = ผู้ใช้ – ISP – content provider

The two sides consist of consumers purchasing internet connectivity on the one hand, and content, applications and service providers on the other. ISPs allow consumers to access content, applications and services, and the latter to access consumers. In theory, this should be a mutually beneficial arrangement. Satisfying the demand of each side depends in part on the participation of the other. For example, consumers would value internet connectivity more highly the more content and applications they can access. Similarly the value content providers find in offering online services increases with consumer internet take-up as it offers them a chance to reach larger numbers of consumers.

Tagged with: , ,

คนใช้ Social Network มากกว่า Search Engine แล้ว (ในอังกฤษ)

Posted in social network by markpeak on 9 มิถุนายน 2010

จาก HitWise

Tagged with: ,

Data.gov.uk & Free Our Data

Posted in Policy by markpeak on 26 มกราคม 2010

ต่อจาก อังกฤษเปิดเว็บ Data.gov.uk เปิดเผยข้อมูลภาครัฐ

จากบทความ Tim Berners-Lee to launch British government’s free data website นสพ. The Guardian ทำแคมเปญการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2006 ในชื่อ Free Our Data สโลแกนอย่างเท่

Our taxes fund the collection of public data – yet we have to pay again to access it. Making it freely available to stimulate innovation.

การมี Data.gov.uk อาจถือว่าเป็นผลงานของ Guardian ด้วยส่วนหนึ่งเช่นกัน Data.gov.uk: now that’s what we call a result ซึ่ง Guardian ก็เคลมเล็กๆ

Happily, that argument has been driven through Whitehall by the efforts of Tim Berners-Lee and Professor Nigel Shadbolt.

เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า การผลักดันแคมเปญอะไรสักอย่าง ต้องมี

  • ตัวอย่างของประเทศอื่นๆ ถ้าเป็นคู่แข่งได้ยิ่งดี ช่วยสร้างความกระตือรือล้นให้ภาครัฐได้มาก
  • ซูเปอร์สตาร์ ในกรณีนี้คือ Tim Berners-Lee ไม่มีไม่เป็นไร แต่มีแล้วชีวิตจะง่ายขึ้น
  • สื่อ กรณีนี้แน่นอนว่าเป็น Guardian ซึ่งเป็นสื่อปัญญาชนรายใหญ่ของอังกฤษ
Tagged with: ,

ใช้สมาร์ทโฟนทำอะไรกันบ้าง – UK Edition

Posted in Behavior, Statistics by markpeak on 17 พฤศจิกายน 2009

ผลการสำรวจของ Nielsen ในอังกฤษ เทียบ Q2/Q3 2009 พบว่าคนใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 10% (5.6M to 6.2M) สมาร์ทโฟนตอนนี้มีส่วนแบ่งตลาดในอังกฤษประมาณ 15%

ส่วนจะมีสมาร์ทโฟนแล้วเอามาทำอะไรกันบ้าง (นอกจากโทร) ดูได้จากตาราง (ตารางนี้เรียงตาม QoQ growth ไม่ใช่ตามจำนวนคนใช้)

ความน่าสนใจน่าจะเป็นอันดับ 2 Downloading apps คงเป็นผลมาจาก iPhone ด้วยส่วนหนึ่ง บริการอย่าง MMS ก็ได้รับความนิยมไม่น้อย (เป็น counter claim ได้ว่าการที่ iPhone ไม่มี MMS ช่วงแรกเป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้ส่วนหนึ่ง)

ที่มา – Nielsen

Tagged with: , , ,

UK 3G Coverage Map

Posted in infrastructure by markpeak on 4 พฤศจิกายน 2009

แผนผังแสดง coverage area ของ 3G network ในอังกฤษ ประกาศโดย Ofcom (กทช. อังกฤษ)

ผู้บริโภคสามารถดูได้เลยว่า มือถือของตัวเองมันมี coverage สมราคาคุยแค่ไหน

จะเห็นว่ายักษ์ใหญ่ของวงการมือถือ ทั้ง Vodafone/O2/T-Mobile มี 3G coverage ไม่ดีนัก เพราะเป็นเครือข่าย 2G มาก่อน ส่วน 3 นั้นเป็น 3G ตั้งแต่แรก (สังเกตจากชื่อบริการได้) Orange นี่ไม่มีข้อมูลครับ (ป.ล. Orange กับ T-Mobile ในอังกฤษจะรวมตัวกันเร็วๆ นี้)

จาก CNET

Tagged with: , , , , , ,

[Resources] Various UK Reports on Digital Future

Posted in Policy, Resources by markpeak on 29 มิถุนายน 2009

รายงาน 3 เรื่องเกี่ยวกับอนาคตด้านดิจิทัลของสหราชอาณาจักร แยกตามกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาจากรายงานเหล่านี้จะถูกอ้างอิง+กล่าวถึงในรายงาน Digital Britain

Tagged with: , ,

[Digital Britain] UK Policy on Being Digital

Posted in infrastructure, Policy, Regulation by markpeak on 29 มิถุนายน 2009

สรุปสาระสำคัญของรายงาน Digital Britain โดย BBC (อาจใช้เป็นตัวอย่างของนโยบายที่จะนำเสนอในภายหลังได้)

รายงาน Digital Britain เสนอนโยบายสำคัญต่อรัฐบาลดังนี้

  • แผนพัฒนาการ “มีส่วนร่วม” (National Plan for Digital Participation) ในโลกดิจิทัล ระยะเวลา 3 ปี
  • การันตี “การเข้าถึงอย่างเท่าเทียม” (universal access) ให้ได้ภายในปี 2012
  • ลงทุนในเทคโนโลยีบรอดแบนด์ (โดยการสร้าง incentive ให้ภาคเอกชน)
  • เปลี่ยนคลื่นวิทยุให้เป็นระบบดิจิทัล ภายในปี 2015 (อังกฤษเปลี่ยนทีวีเป็นระบบดิจิทัลเรียบร้อยแล้ว) เพื่อนำความถี่เหล่านี้ไปใช้งานอย่างอื่นต่อ
  • จัดสรรคลื่นความถี่ 3G ใหม่ (liberalisation of 3G spectrum)
  • ปรับปรุงระบบกฎหมาย ให้แก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ (piracy) ในอนาคตได้
  • ด้านสื่อ
    • ปรับนโยบายของผู้สร้างเนื้อหา (content) ของภาครัฐบาล (เช่น BBC) ให้รองรับโลกดิจิทัลมากขึ้น
    • ปรับนโยบายของสถานีช่อง 4 ให้ทันโลกดิจิทัลมากขึ้น
    • ปรับนโยบายด้านสื่อท้องถิ่น เช่น การให้ทุน
  • จัดระเบียบวิดีโอเกม โดยเฉพาะเกมออนไลน์

(more…)

Tagged with: , ,