The Future of Internet

Paywall ของ NYT เริ่มดีขึ้น?

Posted in Online Media by markpeak on 22 กรกฎาคม 2011

Financial Q2-2011 ของ NYT

  • total revenue -2%
  • ad revenue -4%
    • digital ad revenue +2.6%
    • print ad revenue -6.4%
  • subscription
    • print = down
    • digital = up
Digital Subscription = 224,000 เพิ่มจาก 100,000 ในเดือนเมษายน
จาก AllThingsD

อัตราการเติบโตของ Mobile Data ในสหรัฐ, ราคาเฉลี่ยลดลง

Posted in infrastructure by markpeak on 19 มิถุนายน 2011

เป็นข้อมูลจาก Nielsen บอกว่าอัตราการบริโภค mobile data ของสหรัฐเติบโตอย่างไร สรุปสั้นๆ ว่า

  • โตขึ้นพรวด
  • Android บริโภคเยอะสุด
  • ราคาเฉลี่ยของ data ลดลงเรื่อยๆ
ที่เหลืออ่านตามลิงก์ Nielsen – Average U.S. Smartphone Data Usage Up 89% as Cost per MB Goes Down 46%

 

 

 

การ Anonymizing เพื่อลบข้อมูลส่วนบุคคลสามารถย้อนรอยได้?

Posted in privacy by markpeak on 19 มิถุนายน 2011

ประเด็นเรื่อง data privacy มาเมื่อไร โซลูชันมาตรฐานก็คือการลบชื่อหรือ identity (เช่น username/mail) ออกจากตัวข้อมูล (เช่น ภาพหรือพิกัดหรือคอมเมนต์) เพื่อให้ตามรอยไม่ได้ และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่วงการไอทีทำมาตลอด

แต่มีรายงานล่าสุดออกมาจากฝั่งแคนาดา โดย Ontario Information & Privacy Commissioner ชื่อ Ann Cavoukian ซึ่งบอกว่าถึงแม้ข้อมูลจะถูก anonymize ไปแล้ว แต่การตามรอยกลับยังทำได้ในทางปฏิบัติ เช่น งานวิจัยของสำนักไอทีสาธารณสุขของอเมริกา ที่ลองเอาข้อมูลคนป่วย (ซึ่ง sensitive มากในเรื่อง privacy) ที่ถูก anonymize ไปแล้ว ไปเทียบกับฐานข้อมูลอื่นๆ และสามารถระบุตัวตนได้ว่าผู้ป่วยคนนี้เป็นใคร (ถึงแม้ % จะต่ำมากคือ 0.013% แต่ก็ทำได้)

อีกกรณีหนึ่งคือ Netflix ซึ่งปล่อยฐานข้อมูลของลูกค้าว่าดูหนังอะไรบ้างออกมา เพื่อแข่งเขียนโปรแกรมด้าน machine learning (ซึ่ง Netflix จัดทุกปี) ข้อมูลถูก anonymize แล้ว แต่ก็มีนักวิจัยจาก U of Texas สามารถตามรอยได้ โดยเทียบข้อมูลหนังจาก Netflix กับคอมเมนต์ของผู้ใช้เกี่ยวกับหนังใน IMDB (เปเปอร์, เว็บ, ข่าว)

จาก ReadWriteWeb

รัฐสภาสหรัฐเข้ามาสนใจกรณี กทช. สหรัฐลาออกไปอยู่บริษัทโทรคมฯ

Posted in Regulation by markpeak on 21 พฤษภาคม 2011

เป็นข่าว followup จาก ผลประโยชน์ทับซ้อนของ กทช. สหรัฐ

ความคืบหน้าล่าสุดคือ ส.ส. สหรัฐ (ในฐานะของกรรมาธิการของสภา) เข้ามาสอบสวนเรื่องนี้แล้ว โดยเริ่มจากส่งจดหมายไปยังประธาน FCC ขอให้ตอบคำถามในเรื่องนี้

สภาสหรัฐนี่มีอำนาจตรวจสอบสูงจริงๆ

จาก Ars

Tagged with: , , ,

ส่วนแบ่งตลาดข่าวออนไลน์ของ NYT ลดลงต่ำสุดในรอบ 12 เดือน

Posted in Online Media by markpeak on 13 พฤษภาคม 2011

ปริมาณทราฟฟิกของเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ New York Times ลดลงหลังจากเพิ่มระบบ paywall เข้ามา

เดือนมี.ค. เว็บมีส่วนแบ่งตลาดข่าว นสพ. ออนไลน์อยู่ 13% แต่ในเดือน เม.ย. เหลือ 10.6% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 12 เดือน

ส่วนถ้านับเป็น pageview ก็ลดลง 24.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ส่วน NYT ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเดือน มี.ค. มีข่าวใหญ่หลายข่าวโดยเฉพาะข่าวของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ตัวเลขของเดือนเมษาดูลดลงเยอะ และสำนักข่าวอื่นๆ ก็มี pageview ลดลงเช่นกัน เช่น Yahoo News ลด 23.9%, MSNBC ลด 21.4%

ส่วนเรื่องสัดส่วนแบ่งตลาด ทาง NYT ไม่ได้ตอบประเด็นนี้ บอกเพียงแต่ทราฟฟิกยังอยู่ในระดับที่รับได้

จริงๆ ถ้าทราฟฟิกลด แต่รายได้ของ NYT จาก paywall เพิ่มก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

จาก AdAge

ผลประโยชน์ทับซ้อนของ กทช. สหรัฐ

Posted in Regulation by markpeak on 13 พฤษภาคม 2011

Meredith Attwell Baker หนึ่งใน กทช. สหรัฐ (FCC) จากโควต้าของพรรครีพับลิกัน ประกาศแผนลาออกจาก กทช. เพื่อไปทำงานล็อบบี้ให้กับบริษัทเคเบิลทีวี Comcast-NBC

เมื่อต้นปี Comcast เพิ่งประกาศแผนการควบกิจการกับสถานีทีวี NBC ซึ่ง FCC ก็มีแผนจะกำหนดเงื่อนไขของการควบรวมให้เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันการผูกขาด และตอนนั้น Meredith Attwell Baker ในฐานะกรรมการคนหนึ่งของ FCC ก็คัดค้านแผนการของ FCC โดยให้เหตุผลว่าการควบบริษัทเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

และ 4 เดือนถัดมาหลัง FCC อนุมัติการซื้อกิจการ เธอก็จะเข้าทำงานกับ Comcast ซะอย่างนั้น

อย่างไรก็ตาม Meredith มีเงื่อนไขว่าไม่สามารถล็อบบี้งานสาย กทช. โทรคม และล็อบบี้ตัวรัฐบาลโอบามาได้ (ถ้าโอบามาได้เป็นอีกสมัยก็ไม่ได้) แต่สามารถไปล็อบบี้สภาคองเกรส (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ FCC หรือรัฐบาล) ได้

แน่นอนว่างานนี้เธอก็โดนวิจารณ์อย่างมาก

NYT, Ars

Tagged with: , , , , ,

พฤติกรรมการใช้ Smart Phone (สำรวจโดยกูเกิล)

Posted in Behavior by markpeak on 8 พฤษภาคม 2011

เป็นผลสำรวจของกูเกิล (ผ่านทีม Mobile Ads) ว่าจะเขียนลง Blognone แต่ก็รู้สึกว่าเก่าแล้ว ยกมาแปะตรงนี้แล้วกัน ไฮไลท์โดยผมเอง

โดยสรุปก็คือ local ad จะเป็นตลาดที่ใหญ่มากของ smart phone โดยเฉพาะโฆษณาที่ขายของ (ไม่ใช่ขายแบรนด์) อ่านโพสต์นี้ประกอบ

General Smartphone Usage: Smartphones have become an integral part of users’ daily lives. Consumers use smartphones as an extension of their desktop computers and use it as they multi-task and consume other media.
  • 81% browse the Internet, 77% search, 68% use an app, and 48% watch videos on their smartphone
  • 72% use their smartphones while consuming other media, with a third while watching TV
  • 93% of smartphone owners use their smartphones while at home
Action-Oriented Searchers: Mobile search is heavily used to find a wide variety of information and to navigate the mobile Internet.
  • Search engine websites are the most visited websites with 77% of smartphone users citing this, followed by social networking, retail and video sharing websites
  • Nine out of ten smartphone searches results in an action (purchasing, visiting a business, etc.)
  • 24% recommended a brand or product to others as a result of a smartphone search
Local Information Seekers: Looking for local information is done by virtually all smartphone users and consumers are ready to act on the information they find.
  • 95% of smartphone users have looked for local information
  • 88% of these users take action within a day, indicating these are immediate information needs
  • 77% have contacted a business, with 61% calling and 59% visiting the local business
Purchase-driven Shoppers: Smartphones have become an indispensable shopping tool and are used across channels and throughout the research and decision-making process.
  • 79% of smartphone consumers use their phones to help with shopping, from comparing prices, finding more product info to locating a retailer
  • 74% of smartphone shoppers make a purchase, whether online, in-store, or on their phones
  • 70% use their smartphones while in the store, reflecting varied purchase paths that often begin online or on their phones and brings consumers to the store
Reaching Mobile Consumers: Cross-media exposure influences smartphone user behavior and a majority notice mobile ads which leads to taking action on it.
  • 71% search on their phones because of an ad exposure, whether from traditional media (68%) to online ads (18%) to mobile ads (27%)
  • 82% notice mobile ads, especially mobile display ads and a third notice mobile search ads
  • Half of those who see a mobile ad take action, with 35% visiting a website and 49% making a purchase

ประเด็นการผูกขาดในกรณี AT&T ซื้อ T-Mobile

Posted in infrastructure, Regulation by markpeak on 5 พฤษภาคม 2011

เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ของข่าว AT&T ซื้อ T-Mobile ที่ยังไม่น่าจะจบง่ายๆ

สิ่งที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ AT&T กับ T-Mobile ก็ถือครองคลื่นสำหรับให้บริการมือถืออยู่จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว แต่คลื่นเหล่านี้ไม่ค่อยพอใช้สำหรับเครือข่ายที่ขยายตัวเร็วมาก โดยเฉพาะ 4G/LTE

ปี 2008 อเมริกาก็เพิ่งประมูลคลื่น 700Mhz ไปอีกชุดหนึ่ง (คลื่นชุดนี้มาจากการเปลี่ยนทีวีจาก analog > digital ทำให้มีคลื่นว่างเพิ่มอีกช่วงหนึ่ง) คลื่นชุดนี้แบ่งเป็นหลายบล็อค คนประมูลได้ก็มีหลายบริษัท (ทั้ง AT&T และ Verizon) ซึ่งในนี้มี Qualcomm ผู้ผลิตชิปไร้สายรวมอยู่ด้วย

ประเด็นอยู่ที่ว่า Qualcomm ประกาศจะแบ่งไลเซนส์คลื่นที่ประมูลได้ให้กับ T-Mobile (อเมริกาอนุญาตให้ขายหรือเช่าช่วงคลื่นได้ ของไทยยังไม่อนุญาตตาม พรบ  กสทช ปัจจุบัน) อันนี้เจรจากันเรียบร้อยแล้ว คำถามที่ตามมาคือ ถ้า AT&T ซื้อ T-Mobile ได้ จะได้คลื่นชุดนี้ของ Qualcomm ไปด้วยหรือไม่?

AT&T อยากได้คลื่นชุดนี้เอาไปทำ LTE อยู่แล้ว แต่ก็มีกลุ่ม media reform หลายกลุ่มคัดค้านเพราะจะยิ่งทำให้ AT&T ผูกขาดคลื่นเข้าไปอีก

อันนี้เป็นหนึ่งในประเด็นที่ FCC (กทช สหรัฐ) ต้องพิจารณา สำหรับอนุมัติให้ AT&T ซื้อ T-Mobile ได้

จาก Ars Technica

อนาคตของการโฆษณาออนไลน์ = integrated ad?

Posted in Online Media by markpeak on 5 พฤษภาคม 2011

เป็นบล็อกของนักลงทุนใน silicon valley ชื่อ Mark Suster เขียนถึงรูปแบบของการโฆษณาบนเน็ตไว้อย่างน่าสนใจ ต้นฉบับอยู่ที่ The Future of Advertising will be Integrated

ไอเดียแบบสรุป ๆ ก็คือ nature ของการใช้เว็บและเน็ต ทำให้คน “เพิกเฉย” กับโฆษณาแบบแบนเนอร์ ทำให้การโฆษณาออนไลน์ต้องคิดใหม่ทำใหม่ โดยพยายามหนีจาก “แบนเนอร์” ซึ่งมีฐานคิดมาจากโฆษณาแบบเก่าใน นสพ/ทีวี (เป้าหมายคือ “สร้างการรู้จัก-ความคุ้นเคยต่อแบรนด์” ในระยะยาว) เปลี่ยนมาเป็นการใช้โฆษณาเพื่อตอบสนองผู้ใช้ในระยะสั้นมากขึ้น เช่น ขายของลดราคาตรงๆ เพื่อให้ตัดสินใจซื้อหรือเข้าเว็บในตอนนั้นเลย ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำมากนักว่าเป็นแบรนด์อะไร มีอะไรดี

Suster ยกภาพนี้มาแสดง ผมว่าน่าสนใจดี เอามาจากสมาคมโฆษณาของสหรัฐ (IAB) คือบอกว่า “เป้าหมาย” ของการโฆษณาบนสื่อต่างๆ คืออะไร จะเห็นว่าของอินเทอร์เน็ต ก้อนสีเขียวใหญ่มาก เน้นไปที่ intent หรือความตั้งในการซื้อของหรือเข้าเว็บ

ภาพถัดไปเป็นสถิติอีกชุดที่สนับสนุนกัน

ภาพนี้บอกว่า ภาพรวมของวงการโฆษณา เน้นไปที่แบรนด์มากกว่า แต่พอโฟกัสเฉพาะออนไลน์ สัดส่วนกลับไปอยู่ที่ Direct Response หรือ Intent สูงกว่ามาก

(ข้อมูลทั้งสองชุดนี้ ก็อธิบายได้ว่าทำไมกูเกิลถึงทำเงินกับ AdWords ได้เยอะ เนื่องจากมันเป็นเรื่องของ Direct Response/Intent นั่นเอง)

ทีนี้มาถึงแนวคิดของ Suster ว่าอนาคตของโฆษณาควรเป็นอย่างไร เขาก็บอกว่าโฆษณาแบบ banner ที่แยกตัวเองจากเนื้อหานั้นไม่เวิร์ค เพราะคนไม่สนใจ ดังนั้นโฆษณาในอนาคตควรจะ integrated ตัวเองเข้ากับ content ให้มากขึ้น เช่น

  • Text: การให้ “เซเล็บ” ช่วยโฆษณาผลิตภัณฑ์ใน “stream” ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงเนื้อหาบนเว็บ (advertorial) หรือ twitter stream (promoted tweet) อะไรทำนองนี้ เป็นการตลาดโดยใช้ influencer แบบเดิมๆ แต่เปลี่ยนมาเป็นสื่อใหม่ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการ QC คุณภาพด้วย เช่น ไม่โปรโมทมากเกินไป
    ประเด็นที่น่าสนใจคือ Suster บอกว่า พอเป็น social media มันจะมี feedback loop จากผู้ใช้มาคานอำนาจกลับด้วย เช่น ถ้า twt นี้โฆษณามากเกิน ก็ unfollow เสีย ทำนองนี้
  • Image: เขายกกรณีของ GumGum ซึ่งเป็นเครือข่ายโฆษณาที่เขาลงทุนอยู่ด้วย ตัวอย่างการโฆษณาบนภาพแบบ integrated ก็คือเพิ่มชั้นของโฆษณา “ที่มีความหมาย” (meaningful ad layer) ลงไปบนภาพ ซึ่ง Suster บอกว่าอัตราการคลิก (CTR) สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 เท่า ดูตัวอย่างน่าจะพอนึกออก

  • Games: กรณีสุดท้ายของ integrated ad ที่ Suster ยกมาคือ Angry Birds Rio ซึ่งเขาบอกว่าเป็นการโฆษณาแฝงแบบที่ชาญฉลาดมาก และได้ผลกลับมาดีกว่าการวางแบนเนอร์ไว้ในเกมมาก

ความเห็น

ในฐานะที่เป็นเจ้าของ content เองก็พบว่าเป็นเช่นนั้นจริง คือ advertiser สนใจซื้อ advertorial มากกว่า banner (ด้วยเหตุผลเดียวกันว่าคนไม่ดู banner แต่อ่านเนื้อหา) ซึ่งตรงนี้ในฐานะ content owner (ไม่ใช่ advertiser) ก็ต้องพยายาม balance ระหว่างรายได้กับมาตรฐานของเนื้อหา ซึ่งเป็นปัญหาที่ content owner ทุกรายน่าจะต้องเจอหมด (โดยเฉพาะรายใหญ่ที่เป็น content farm ดูโพสต์ The AOL Way)

ในฐานะที่เป็นผู้ใช้เน็ตคนหนึ่ง ก็ต้องบอกว่าทิศทางนี้ของ advertiser น่ากลัวมาก คือ ต่อไปโฆษณามันจะแฝงไปทุกแห่งหน แยกแยะได้ยากมากมาย (และการใช้พวก AdBlock Plus ก็แทบไม่มีผลแล้ว) คล้ายๆ กับโฆษณาแฝงในทีวีตอนนี้

Online Articles Won Pulitzer

Posted in Online Media by markpeak on 4 พฤษภาคม 2011

อาจจะเป็นบทความที่เก่าไปปีหนึ่ง แต่น่าจะยังพอได้อยู่ :D

ปีที่แล้ว รางวัล Pulitzer ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับสื่อมวลชนอเมริกันในการทำข่าวที่โดดเด่น โดยรางวัลหมวด Investigative Report (ข่าวเจาะ/สกู๊ปที่ส่งนักข่าวไปเกาะติดประเด็นโดยละเอียด) มีผู้ชนะคนหนึ่งจากเว็บไซต์ ProPublica ซึ่งเป็นเว็บข่าวเจาะออนไลน์แบบไม่หวังผลกำไร ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ Pulitzer มอบรางวัลให้สื่อที่ไม่ได้ตีพิมพ์ลงกระดาษ

ปีนี้ ProPublica ชนะ Pulitzer อีกรอบ โดยชนะในหมวด National Reporting (รายงานประเด็นระดับชาติ)

กระบวนการให้รางวัลของ Pulitzer คงไม่สนใจ medium เน้นที่ content เป็นหลัก อย่างไรก็ตามการที่ ProPublica สามารถดึงดูด/สร้างนักข่าวระดับ Pulitzer มาได้ ก็ถือเป็นความสำเร็จอีกระดับของสื่อออนไลน์